ตัวละครที่เด่น

โรงงิ้วจะมีตัวแสดงที่เด่นๆยืนพื้น 6 ตัวละคร 
1. พระเอก (เซียวเซ็ง) พระเอกของเรื่อง ฝ่ายบุ๋น คือ รบไม่เป็น มีรูปร่างเพรียวบาง จึงรับบทโดยฝ่ายหญิง เพราะดูสะอาดตา แต่งหน้าสีแดง ใบหน้ารูปไข่ ส่วนใหญ่เป็นบทขุนนางตงฉิน เสียงใส ท่าทางสุภาพอ่อนน้อม บทพระ  พระเอกบู๊ 武生 (อู่ เซิง wu3 sheng1) คือตัวละครชายที่รับบทนักรบหรือผู้มีวิทยายุทธ์ เน้นที่บทบาทการต่อสู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บู๊แบบชุดรบ (มีธง) กับบู๊ทั่วไป พระเอกหนุ่ม 小生 (เสี่ยว เซิง xiao3 sheng1) คือตัวละครชายที่รับบทชายหนุ่ม ไม่ติดหนวดเครา แสดงถึงวัยเริ่มแตกเนื้อหนุ่มแต่ยังไม่มีหนวดเครารุงรัง

2. ชายชราฝ่ายดี (เหล่าเซิง) เป็นบทของคนแก่เวลาแสดงงิ้ว สังเกตง่ายๆจะมีหนวดขาวยาวลงมาถึงเข็มขัด พระเอกสูงวัย 老生 (เหล่า เซิง lao3 sheng1)คือตัวละครชายที่ติดหนวดเครา เน้นหนักที่การร้องเป็นหลัก สีหนวดเคราแสดงถึงอายุที่มากขึ้นตามลำดับ คือ ดำ เทา และ ขาว
3. ผู้ร้าย (โอวหมิ่ง) มักร่างใหญ่ ผู้รับบทจึงเป็น ฝ่ายชาย ตัวละครที่ทาสีดำสนิททั้งหน้า หรืออาจทาสีสันมากมายจนมองดูไม่เป็นหน้าคนแล้ว ตัวละครตัวนี้ จะมีนิสัยหลากหลาย บางเรื่องจะเป็นนักรบมองโกล บางทีเป็นขุนนางกังฉิน เช่น ท่านราชครูในเรื่องเปาบุ้นจิ้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบทร้าย เสียงแหบแตกพร่า เป็นคุณสมบัติของตัวกังฉิน ที่เห็นได้ชัดเจน คือ กลอกตาไปมาแสดงให้เห็นถึงความเจ้าเล่ห์ และความน่ากลัว 
บทหน้าลาย (ฮวา เหลี่ยน hua1 lian3) บทหน้าลายคือตัวละครที่วาดหน้าเป็นลวดลายต่างๆ มีทั้งฝ่ายดีและเลว (ส่วนใหญ่งิ้วแต้จิ๋ว จะเป็นบทร้าย) แบ่งได้เป็น บุ๋นและบู๊ บุ๋น 铜锤花脸 (ถง ฉุย ฮวา เหลี่ยน tong2 chui2 hua1 lian3) บู๊ 架子花 (เจี้ย จื่อ ฮวา เหลี่ยน jia4 zi hua1 lian3)
4. นางเอกสาว (ฮวย ตั่ว) นางเอกของเรื่อง ตัวละครที่รับบทนี้เน้นการร้องและการแสดงพร้อมกัน นางเอกสาว 花旦 (ฮวา ตั้น hua1 dan4)ตัวละครที่รับบทนี้ เน้นการร้องและการแสดงพร้อมกัน บทนี้ยังรวมไปถึงคนใช้คนสนิทของนางเอก ที่คอยรับใช้ติดตามตัวคุณหนูตลอดเวลา  

 5.นางเอกบทเศร้า (โอวซา) ตัวละครที่รับบทนี้จะรับบทโศกเป็นสำคัญ เน้นการร้อง อาจรวมไปถึงนางเอกสาวหรือตัวละครที่สูงวัย เมื่อถึงตอนบทโศกหรือถูกลงโทษ จะทาหน้าจนมันเยิ้มเพื่อแสดงถึงบทโศก กำลังร้องไห้ ตัวละครที่รับบทนี้ มีทั้งตัวละครที่รับบทโศก และบทหญิงสูงศักดิ์ เน้นการร้องเป็นสำคัญ
             เมื่อถึงตอนบทโศกหรือถูกลงโทษ จะทาหน้าจนมันเยิ้ม เพื่อแสดงถึงบทโศกกำลังร้องไห้ ไม่เน้นเครื่องแต่งกาย ใส่เฉพาะซับในชุดขาวด้านในเท่านั้น  โดยจะถอดหมวกหรือปิ่นปักผมออก เหลือเพียงผมมวยสยายยาว ทำสีหน้าโศกเศร้าฟูมฟาย แล้วนั่งชันเข่าก้มหน้า เพื่อรับโทษ โดยจะมีเสื่อปูเตรียมไว้สำหรับล้มตัวนอนตอนถูกโบย     

6. ตัวตลก (เหล่าทิ่ว)  (โฉ่ว chou3) แต่งหน้าแบบ ไม่มีสันจมูก โดยใช้แป้งทาเป็นรูปทรงกลม สีขาวที่จมูก เหมือนตัว Joker ที่มีจมูกสีแดง เสียงร้องตลกงิ้ว จึงฟังคล้ายบีบจมูก ท่าทางว่องไวหลุกหลิก ส่วนใหญ่เป็นบทอาซิ่ม กับอาแปะ
ฮ่องเต้ ทรงเครื่องสีเหลืองเสมือน สีทอง แสดง ถึงความโอ่อ่า เมื่อมีการประชุม หรือว่าความข้าราชการ ขุนนางในท้องพระโรง มักมีตราประจำพระองค์วางที่ด้านขวาของโต๊ะ ใช้ทุบโต๊ะเสียงดัง เมื่อแสดงอาการโกรธ หรือ เตือน...ห้ามการทะเลาะระหว่างขุนนาง
ฉากรบ จะมีตัวละครประกอบในฉากมากกว่าฉากอื่นๆ เนื่องจาก กำลังทหารของแต่ละฝ่ายจะมีจำนวน 2-4 ตัวละคร ในขณะที่เวทีมีขนาดไม่ใหญ่นัก แสดงการฟันดาบกันโดย ถ้าใครแพ้ก็หนีไป ฝ่ายหนีมักจะมีเสียงพลทหารอีกฝ่ายโห่ไล่ล่า พร้อมทั้งเสียงรัวกลองที่ต่อเนื่อง ประกอบกับการแต่งองค์ทรงเครื่องของชุดนักรบนายทหารใหญ่ ที่ขี่ม้าถือแส้ไม้กวัดแกว่งขึ้น-ลงเบาๆที่ข้างตัว เสมือนการเฆี่ยนม้า วิ่งสลับกันไปมา จึงทำให้มีความตื่นตามากกว่า ฉากร้องเพลงอื่นๆ
           พลทหาร ซึ่งในสมัยนี้ มักรับบทโดยชายวัยรุ่นชาวอีสานที่มักเรียกกันว่า ฮี้เกียะ จะใส่หมวกที่ทำจากผ้าสองแบบ แบบแรกหมวกหนีบทรงเรียวแหลม แบบสองหมวกคล้ายกะโล่ทรงกลมมีปีก  
       ส่วนใหญ่ฉากรบจะถูกใจแม่ยก จึงทำให้มีการมอบรางวัล ซึ่ง 2 วิธีคือ ให้โดยตรงที่หน้าเวที ระหว่างการแสดงกับการมอบผ่านผู้ว่าจ้างของศาลเจ้า ที่เรียกว่า เถ่านั้ง โดยเขียนบนป้ายกระดาษสีแดงยาวเป็นริ้ว อักษรจีนสีทอง ที่คณะงิ้วจะนำไปติดหน้าโรง บริเวณด้านบนของฉาก เพื่อเป็นการประกาศชมเชยแก่นักแสดง  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น