ความหมายของคำว่า งิ้ว


คำว่า งิ้ว ตามความหมายจากสารานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า งิ้ว ไว้        ว่า “งิ้วเป็นมหรสพอย่างหนึ่งของจีน เล่นเป็นเรื่องเป็นราว มีการขับร้องและเจรจาประกอบท่าทางการแสดง” (ราชบัณฑิตยสถาน 2520:4290)
ที่มาของคำว่า งิ้ว
พรพรรณ จันทโรนานนท์ (2537:5-6) กล่าวว่า หากจะสืบหาความเป็นมาของคำว่า งิ้ว ในภาษาไทยแล้ว ไม่ปรากฏคำไทยคำใดที่มีทั้งเสียงและความหมายใกล้เคียงกันพอที่จะสืบค้นประวัติของคำนี้ได้เลย แต่เมื่อพิจารณาคำว่า งิ้ว ว่า เป็นการแสดงของชาวจีน คำว่า งิ้ว น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีน การแสดงที่ไทย เรียกว่า งิ้ว ในภาษาจีน มีคำเรียกถึงสามคำ ออกเสียงเป็นภาษาแต้จิ๋วว่า หี่ เกี๊ยะ  และอิว (ใช้ในความหมายว่า นักแสดงงิ้ว) เมื่อนำทั้งสามคำมาเปรียบเทียบกับการออกเสียงของภาษาจีนกลุ่มต่างๆ ได้ผลปรากกฎดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 7 : เปรียบเทียบเสียงอ่านภาษาจีนกลุ่มต่างๆ
คำอ่านภาษา
/
/
/
จีนกลาง
ซี่
จวี้
อิว
แต้จิ๋ว
หี่
เกี๊ย
อิว
กวางตุ้ง
เฮย
เค็ก
ยาว
ไหหลำ
ฮี๋
กี้
อิว
ฮกเกี้ยน
หี่
โก๊ยะ
อิว
แคะ
ฮี้
เกี่ยก
ยิว
จากการเทียบเสียงอ่านจะเห็นว่า คำว่า อิว (ในตารางช่องที่ 3 ) มีการออกเสียงเป็นสระเดียวกันหมด ยกเว้นภาษากวางตุ้ง คำว่า งิ้ว จึงน่าจะมาจากคำว่า อิว
หมายเหตุ ทางเว็บเติมตัวอักษรจีนเพื่อง่ายต่อการสืบค้นต่อสำหรับผู้สนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติม : อุปรากรจีน (นามปากกา)
ถาวร สิกขโกศล (2537:4-5) กล่าวว่า คำว่า อิว ในยุคโบราณ หมายถึง การเล่นตลกให้หัวเราะ ไผอิว หมายถึงนักแสดงตลก ไผอิว เป็นต้นธารสำคัญสายหนึ่งของงิ้ว ภายหลังคำว่า อิว จึงหมายถึง นักแสดงงิ้ว
ล.เสเถียรสุต (ม.ป.ป.:162) กล่าวว่า คำว่า งิ้ว ไม่ทราบว่า เป็นมาอย่างไร ภาษาแต้จิ๋ว เรียก งิ้ว ว่า หี่ ภาษากลางเรียกว่า ซี่
คุณถ่องแท้ รจนาสันต์ สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า อิว ในภาษาแต้จิ๋ว แต่ชาวแต้จิ๋ว ไม่นิยมช้ำว่า อิว นอกจากภาษาหนังสือจากบันทึกท้องถิ่นของอำเภอ กิ๊กเอี๊ย (อำเภอหนึ่งของเมืองแต้จิ๋ว) ใช้คำว่า ไป่อิว   ในความหมายว่า งิ้ว ดังปรากฎข้อความที่ขุนนางผู้หนึ่งได้บันทึกไว้ว่า ไป่อิว (งิ้ว) เป็นเรื่องของคนชั้นต่ำไม่ควรมีไว้ในบ้าน (เหี่ยหยู่ปิงและคนอื่นๆ (1995:3))
ในหนังสือโบราณของจีน มีคำว่า อิวปรากฎอยู่หลายเล่ม ในเส่งงื้อกู้สื่อ บันทึกว่า อิวมึ่ง (อิวเม่ง-แต้จิ๋ว) เป็นคนแสดงละครเก่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 2000 กว่าปี ก่อน) ในสมัยนั้นพระเจ้าฉู่จงอ๋วงมีมุขมนตรีที่ปราดเปรื่อง มีนามว่า ซุนสูเอ๋า มุขมนตรีซุนสูเอ๋า ผู้นี้ได้ช่วยปกครองบ้านเมืองจนเพื่องฟู จนซุนสูเอ๋าตายไป พระเจ้าฉู่จงอ๋วงก็ลืมซุนสูเอ๋าเสียสิ้น
      อิวมึ่ง เป็นผู้มีวาทะศิลป์ ปัญญาฉลาดล้ำเลิศ จิตใจดีงามเห็นอกเห็นใจผู้คน เขากับซุนสูเอ๋าเป็นเพื่อนรักกัน ซุนสูเอ๋าเมื่อป่วยหนักก่อนตายได้บอกกับลูกของเขาว่า หลังพ่อตายแล้ว ลูกๆคงลำบากยากจนมาก เจ้าจงไปหาอิวมึ่งบอกเขาว่า เจ้าเป็นลูกพ่อ หลังซุนสูเอ๋าตาย ไม่มีสมบัติใดใดให้ลูก ลูกได้แต่หาฟืนเลี้ยงชีพ แบกฟืนไปขายในตลาด
     วันหนึ่งจึงได้พบอิวมึ่งในตลาด จึงได้เล่าถึงชีวิตอันแร้นแค้นให้อิวมึ่งฟัง อิวมึ่งว่า เจ้าอย่าไปไหนไกลนัก เพราะเจ้าฉู่จงอ๋วงจะหาเจ้าไม่พบ อิวมึ่งกลับมาบ้าน  รีบเอาเศษผ้าและหมวกของซุนสูเอ๋ามาแต่ง ฝึกกริยาว่าจาท่าทางของซุนสูเอ๋า ทำเช่นนี้อยู่ทุกวันจนเวลาผ่านไปปีกว่า จนในที่สุดอิวมึ่งสามารถแสดงได้เหมือนซุนสูเอ๋าตัวจริง
 ครั้งหนึ่งฉู่จงอ๋วงจัดงานเลี้ยงข้าราชการ อิวมึ่งแต่งตัวเป็นซุนสูเอ๋าเข้าไปถวายสุรา ฉู่จงอ๋วงตกใจมากที่เห็นใครคนนั้นมีลักษณะท่าทางวาจาเป็นคนเดียวกับซุนสูเอ๋า จึงนึกอยากได้เป็นมุขมนตรี และได้เอ่ยทาบทามไป แต่อิวมึ่งในคราบซุนสูเอ่า กราบทูลปฎิเสธว่า "ภรรยาของข้าพระองค์กำชับนักหนาว่า ไม่ให้ข้าพระองค์รับราชการ นางบอกว่า ดูขนาดซุนสูเอ๋า ที่แสนจะซื่อสัตย์จงรักภักดีปานนั้น  ช่วยเมืองฉู่จนเป็นมหาอำนาจได้ แต่บัดนี้ เมื่อตายไป ลูกของท่านแม้แต่พื้นดินเท่าฝ่าเท้ายังไม่มีให้ยืนหยัด ต้องอาศัยเข้าป่าหาฟืนขายประทังชีวิต ถ้าเจ้าคิดจะรับราชการ เจ้าจงไปตายเสียดีกว่า" ว่าแล้ว อิวมึ่ง นักแสดงก็ร้องเพลงปรียบเปรยเย้ยความไร้น้ำใจของฉู่จงอ๋วง ทำให้ฉู่จงอู๋วงสะเทือนใจยิ่งนัก จึงรีบบัญชาให้ตามบุตรของซุนสูเอ๋าให้เข้าเฝ้า แล้วยกที่ดินผืนใหญ่ให้ มีอาณาเขตกว้างไกลถึง 400 หลังคาเรือน ให้เป็นที่ทำกินของบุตรชายซุนสูเอ๋า
เรื่องราวนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่วในความสามารถของอิวมึ่ง จนผู้คนต่างติดปากเรียกนักแสดง ว่า อิว
คำว่า อิว จึงมีที่มาจากชื่อ ของ อิวมึ่ง
คำว่า งิ้ว จึงสันนิษฐานได้ว่า มาจากคำว่า อิว

              ที่มา วีเกียรติ มารแมน 2539 © มหาวิทยาลัยมหิดล



งิ้ว หรือ อุปรากรจีน


งิ้วได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และยกระดับงิ้วให้เป็น มรดกโลก

จีน: 戏曲/戲曲, พินอิน: xìqǔ, อังกฤษ: Chinese opera)  
        เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วยเดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท
        ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง,งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดย งิ้วปักกิ่ง เป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
        ประเภทของงิ้วที่แสดงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ งิ้วหลวงกับ งิ้วท้องถิ่น
        งิ้วหลวงคือ งิ้วประจำชาติของประเทศจีน มีวิวัฒนาการมาจากงิ้วที่เคยจัดแสดงในราชสำนักของจีนเรียกกันว่า จิงจวี้หรือ กั๋วจวี้ ซึ่งจะเป็นงิ้วที่มีมาตรฐานและเน้นความถูกต้องในศิลปะการแสดงของตัวละครทุกๆตัวไม่ว่าจะเป็นลีลาการร่ายรำท่วงทำนองเสียงดนตรีประกอบเรื่อยไปจนถึงการแต่งกายและการแต่งหน้าของตัวละครซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้เองที่เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการแต่งกายวัฒนธรรมจารีตประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนในยุคโบราณได้อย่างชัดเจน

        งิ้วท้องถิ่น คืองิ้วที่เจริญขึ้นในมณฑลหรือเขตหนึ่งๆ โดยมีวิวัฒนาการจากการละเล่นพื้นเมืองในท้องถิ่นนั้น เกิดขึ้นในแต่ละมณฑล....โดยจะไม่เคร่งครัดเรื่องการแต่งกาย ภาษาที่ร้องก็จะเป็นภาษาถิ่นจึงมีชื่อเรียกต่างๆกันออกไป เช่น งิ้วแต้จิ๋ว งิ้วฮกเกี้ยน งิ้วกวางตุ้ง งิ้วไหหลำ เป็นต้นแบบแผนของงิ้วท้องถิ่นจึงดูไม่เคร่งครัดสักเท่าไหร่นัก แตกต่างไปจากงิ้วหลวง
ที่มา : วิกิพิเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น