กำเนิดงิ้วในสวนแพร์

ถังหมิงหวงกับบรรดาลูกศิษย์สวนแพร์ของพระองค์บรรเลงดนตรีให้หยางกุ้ยเฟยร่ายรำ

หลีหยวน(梨园)หรือ สวนลูกแพร์ Pear Garden คำคำนี้เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง โดยจักรพรรดิถังหมิงหวงหรือถังเสวียนจงหรือนามเดิมคือหลี่หลงจีได้นำบรรดานักดนตรีและนักแสดงมาฝึกร้องรำทำเพลงในบริเวณสวนแพร์ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะโดยเริ่มมีการแสดงเป็นฉากสั้นๆที่มีเนื้อเรื่องต่างจากในยุคก่อนๆที่ไม่เพียงการร่ายรำหรือขับร้องเพียงอย่างเดียว จึงถือว่าเป็นยุคแห่งการเริ่มต้นของงิ้วทั้งปวง ถังหมิงหวงจึงถือเป็นบรมครูของงิ้วทั้งหมด โดยพระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นมือกลองหลักประจำวงและในบางครั้งก็ทรงนึกสนุกไปรับบทตัวตลกก็ได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้งิ้วทางเหนือจะยกให้พระองค์เป็นเทพแห่งงิ้วด้วยเช่นกัน และชาวงิ้วทั้งหมดจะถูกเรียกว่า ศิษย์แห่งสวนแพร์(梨园子弟ก็เนื่องมาจากตำนานที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
พิธีเริ่มแสดงงิ้วอีกครั้งหลังปีใหม่ อัญเชิญถังหมิงหวงหรือ จู่ซือเหย 师爷 มาเป็นประธานในพิธี
ทีนี้เรามาดูกันบ้างว่า งิ้วทางใต้นับถือใครเป็นเทพแห่งงิ้ว เทพองค์นี้ในสมัยเป็นมนุษย์ มีนามว่า เหลยไห่ชิง 雷海青 ว่ากันว่าไห่ชิงเกิดว่ามีสีดำรอบริมฝีปาก จึงถูกนำไปทิ้งไว้ในทุ่งนา ตอนที่มีคนเชิดหุ่นกระบอกมาเก็บไปเลี้ยงและได้พบว่าก่อนที่ตนจะมีพบเด็กคนนี้ได้มีปูกำลังป้อนน้ำลาย(บางที่ว่าป้อนน้ำนม)ให้ทารกน้อยคนนี้ จึงเกิดเป็นข้อห้ามของงิ้วทางใต้บางชนิดว่าห้ามกินปูและนำขึ้นบนโรงงิ้ว(อย่างในไทยก็รวมไปถึงบรรดาสัตว์เลื้อยคลานต่างๆเช่น กบ งู ฯลฯที่อาศัยอยู่ในทุ่งนาด้วย) เพราะถือว่าปูมีบุญคุณต่อเทพแห่งงิ้วองค์นี้ โดนบนศีรษะสวมหมวกที่มีตัวหนังสือ เหลย จึงนำมาตั้งเป็นแซ่เด็กคนนี้ ต่อมาไห่ชิงเติบโตขึ้นและได้รับการเรียกตัวเข้าวังจากถังหมิงหวง โดยสอบได้ในตำแหน่งทั่นฮวาคือลำดับที่รองจากจ้วงหยวน(จอหงวน)และปั้งเหยี่ยน พูดง่ายๆก็คือลำดับที่สามในการสอบ หลังจากที่ไห่ชิงแสดงฝีมือเป่าขลุ่ย ถังหมิงหวงที่เป็นฮ่องเต้ผู้รักศิลปะก็ได้เลื่อนขั้นให้ที่ตำแหน่งจอหงวนทันทีและให้เป็นราชบัณฑิตอีกทั้งมีหน้าที่หลักในวงดนตรีคือเล่นผีผาที่ไห่ชิงเชี่ยวชาญ ต่อมาเมื่อเกิดกบฎอันลู่ซาน ไห่ชิงถูกบังคับให้มาแสดงทั้งที่ไม่อยากมา หลังจากแกล้งป่วยแต่ก็ไม่วายถูกบังคับสุดท้ายไห่ชิงทำลายผีผาและด่าทออันลู่ซานจึงถูกอันลู่ซานสั่งลงโทษแล่เนื้อจนตาย
เถียนหยวนไซว่หรือฉั่งหง่วงส่วย มีรูปปูที่หน้าผากตามในตำนาน มีไก่และสุนัขเป็นบริวาร
เมื่อสิ้นสุดกบฎอันลู่ซาน ถังหมิงหวงกลับสู่พระราชวังก็เสียใจที่ไห่ชิงถูกสั่งฆ่า ทรงซาบซึ้งถึงความจงรักภักดีและชื่นชมในความสามารถยามมีชีวิตอยู่ จึงแต่งตั้งให้วิญญาณไห่ชิงเป็นเทพแห่งการดนตรี และให้นำกระดูกกลับสู่บ้านเกิดที่มณฑลฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน)เมืองผูเถียนกับให้ตั้งศาลกราบไหว้บูชาซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ชาวงิ้วในแถบนั้นจึงนับถือไห่ชิงเป็นเทพแห่งงิ้ว โดยเรียกอีกชื่อว่า เถียนหยวนไซว่ หรือ ฉั่งหง่วงส่วย เพราะมีตำนานว่าครั้งหนึ่ง มีเทพองค์หนึ่งได้ช่วยฮ่องเต้จากสงครามและปรากฎเห็นธงบนฟ้ามีตัวอักษร เถียน จึงเรียกแซ่ของเทพองค์นี้เป็นแซ่เถียน แทนที่จะเป็นแซ่เหลย นั่นเพราะตอนที่สำแดงปาฏิหารย์บนฟ้านั้นมีเมฆส่วนหนึ่งบังตัวอักษรครึ่งบนคือตัว จึงเหลือเพียงตัว ให้เห็น 
เหมยหลานฟางแสดงเป็นหยางกุ้ยเฟยร่ายรำในสวนแพร์ที่ถังหมิงหวงกำลังตีกลองอยู่ด้านบน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าถังหมิงหวงคือบรมครูหรือผู้ให้กำเนิดงิ้วซึ่งงิ้วทางเหนือนับถือ ส่วนเถียนหยวนไซว่หรือฉั่งหง่วงส่วยเป็นเทพผู้คุ้มครองชาวงิ้วซึ่งงิ้วทางใต้สักการะบูชาแต่ไม่ว่าจะนับถือเทพองค์ใดก็ตามแต่ทั้งหมดก็มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นก็คือ สวนแพร์หรือหลีหยวน นั่นเอง
    
                                ที่มา : ดนุพล ศิริตรานนท์ (แตง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น